วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1. จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด
ตอบ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ
1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส
2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา
4) มหาวิทยาลัยยูทาห์
อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526
ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี  อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น
                                                                                                                                           
2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ตอบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทคเครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมายเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยมการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
                                                                                                                                          
3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 

    และมี URL ว่าอย่างไร

ตอบ  ธุรกิจการสื่อสาร เช่น DTAC มี URL ว่า https://www.dtac.co.th/?gclid=CNC_-IP_qrQCFYl66wod4ysA0A
                                                                                                                                           
4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไร 
    บ้าง และทำหน้าที่อะไร

ตอบ ไอซ็อก ไอเอบี ไออีทีเอฟ และไออาร์ทีเอฟ ไอซ็อก
สมาคมอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2535 ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตให้แพร่หลาย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยไอเอบี ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอซ็อกยังทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้ทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ไอเอบี

ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอนไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด หน้าที่ของไอเอบีคือผลักดันและดูแลพัฒนาการด้านเทคนิคของอินเทอร์เน็ตให้กับไอซ็อก ไอเอบีดูแลองค์กรสองแห่งซึ่งดำเนินงานด้านเทคนิคโดยตรงได้แก่ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอเอบียังทำหน้าที่จัดการงานบรรณาธิการและตีพิมพ์เอกสาร อาร์เอฟซี และการกำหนดหมายเลขเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต โดยไอเอบีมอบภาระงานทั้งสองนี้ให้กับ บรรณาธิการอาร์เอฟซี (RFC Editor) และ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ตามลำดับ ไออีทีเอฟ

ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) ไออีทีเอฟประกอบด้วยอาสาสมัคร และผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกันพัฒนาสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต และช่วยให้อินเทอร์เน็ตดำเนินการได้โดยราบรื่น ไออีทีเอฟเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำงานได้ ไออีทีเอฟทำหน้าที่ด้านเทคนิคโดยการสร้าง ทดสอบ และนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน มาตรฐานอินเทอร์เน็ตจะผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยไออีเอสจีโดยมีไอเอบีเป็น ที่ปรึกษา งานด้านเทคนิคของไออีทีเอฟแบ่งออกได้เป็นสาขา แต่ละสาขาประกอบด้วยคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีผู้อำนวยการสาขา (Area Directors) เป็นผู้ดูแลจัดการ ผู้อำนวยการสาขาทั้งหมดรวมกับประธานของไออีทีเอฟจะประกอบกันเป็นไออีเอสจี ขณะปัจจุบันไออีทีเอฟจัดแบ่งออกเป็น 9 สาขาได้แก่ สาขาประยุกต์ (Applications Area), สาขาทั่วไป (General Area), สาขาอินเทอร์เน็ต (Internet Area), สาขาการดำเนินงานและการจัดการ (Operations and Management Area), สาขาการเลือกเส้นทาง (Routing Area), สาขาความปลอดภัย (Security Area), สาขาโปรโตคอลทรานสพอร์ต (Transport Area), สาขาการให้บริการผู้ใช้ (User Services Area), และสาขางานย่อยไอพี (Sub-IP Area) ทั้ง 9 สาขานี้ในปัจจุบันประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) รวมทั้งสิ้น 133 กลุ่ม ไออาร์ทีเอฟ

ไออาร์ทีเอฟ (IRTF : Internet Research Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานวิจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) งานของไออาร์ทีเอฟเน้นหนักงานวิจัยระยะยาวในอินเทอร์เน็ต ขณะที่ไออีทีเอฟเน้นหนักงานด้านวิศวกรรมและการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้งานในปัจจุบัน ไออาร์ทีเอฟมีคณะวิจัย (Research Groups) ในด้านต่างๆได้แก่ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล การประยุกต์ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 12 คณะ องค์กรดูแลด้านข้อมูลและทะเบียน องค์กรในกลุ่มนี้ทำหน้าที่เชิงการจัดการด้านเทคนิคและการประสานงานเครือข่าย งานหลักส่วนหนึ่งในการดำเนินการอินเทอร์เน็ตได้แก่ การจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำแต่ละโปรโตคอล รวมทั้งการบริหารโดเมนและจดทะเบียนโดเมน งานนี้แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันภาระงานนี้ได้ถ่ายโอนไปยังหน่วยงานใหม่ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 คือ ไอแคน (ICANN : The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ไอแคนเป็นบรรษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร และบริหารจัดการโดยคณะกรรรมการที่ได้รับเลือกมาจากนานาชาติ ไอแลนมอบอำนาจให้ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แบ่งออกไปตามภูมิภาคทำหน้าที่ดูแลการจัดสรรแอดเดรสและบริหารโดเมน
                                                                                                                                           
5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน

ตอบ IP Address เครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้รหัสหมายเลขมากำหนดให้แต่ละเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ภานในเครือข่ายที่เชื่อมโยง เรียกหมายเลขเหล่านั้นว่า IP Address หรือ Internet Address ซึ่งการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตจะอาศัยหมายเลข IP Address นี้ในการระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางโดย IP Addressประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 32บิต แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็ทำการแปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนคั่นด้วยจุด ดังนั้น หมายเลขทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยค่าไม่ซ้ำกันคือ 2 หรือเท่ากับ4,294,967,296 จำนวน มีค่าหมายเลขตั้งแต่ 000.000.000.000 จนถึง 255.255.255.255 หมายเลขนี้เองที่อินเตอร์เน็ตใช้กำหนดให้กับเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อ้างอิง IP Address บางหมายเลขสงวนไว้ใช้ด้วยจุดมุ่งหมายกรณีพิเศษทำให้ IP Address ที่ใช้งานทั่วไปลดลงจากจำนวนที่เป็นไปได้ ความหมายของ IP Address จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครือข่าย (Network Number)
2. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในเครือข่าย (Host Number)
IP Address ในกลุ่มรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถซ้ำกันได้แต่กลุ่มรหัสประจำเครือข่ายจะซ้ำกันไม่ได้ ดังนั้นรหัสเครื่องที่ซ้ำกันจึงไม่มีผลต่อการอ้างอิงถึง นอกจากนี้เพื่อความเหมาะสมในการกำหนด IP Address ให้กับผู้ขอ ทางผู้บริหารของอินเตอร์เน็ตแบ่ง คลาสของผู้ขอ IP Address ตามขนาดของเครือข่าย เพื่อให้ ทรัพยากรส่วนนี้ถูกใช้อย่าง คุ้มค่าที่สุด องค์กรขนาดใหญ่ก็จะจัดให้อยู่ในคลาสที่สามารถกำหนด IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายได้ มาก การแบ่งคลาส จะแบ่งได้ 5 ระดับ (Class) คือ Class A, Class B, Class C, Class D, Class E แต่ที่ใช้งานในทั่ว ไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง
ในปัจจุบัน IP ที่อยู่ใน Class A ถูกใช้ในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน Class B จะใช้กับองค์กรใหญ่ เช่น Nectec ส่วน บริษัทหรือบุคคลทั่วไป
Domain Name เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกแทน IP Address ต่างๆ ที่เว็บไซต์นั้นๆ เก็บอยู่เพื่อให้ง่ายต่อการจดและเรียกใช้งาน หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยง และการใช้อินเตอร์เน็ต คือ Inter NIC (InternetNetwork Information Center) ผู้จัดการบริการ Domain ได้ทำการจัดตั้ง DNS (Domain Name System)เป็นฐานข้อมูลที่เก็บ และระบบจัดการชื่อลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า Domain Name Server โดยที่ Serverนี้ทำหน้าที่เป็นดัชนีในการเปิดดูบัญชีหมายเลข IP Address (Lookup) จาก Domain Name ที่รับเข้ามาหรือสรุป ง่ายๆ ก็คือทำการเปลี่ยนชื่อ Domain ให้เป็น IP Addressนั่นเองส่วนของ Domain Name ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการกำหนดประเภทขององค์กรเจ้าของเครือข่ายนอกจากนั้น Inter NIC ยังอนุญาตให้เพิ่มการระบุว่าเครือข่ายหรือองค์กรเจ้าของเครือข่ายอยู่ในประเทศใด และผู้สร้างเครือข่าย สามารถกำหนดชื่อเครือข่ายย่อยที่มีอยู่ลงไว้ใน Domain Name ได้ด้วย ส่วนประกอบย่อยของ Domain Name แยกกันด้วยจุดเช่นเดียวกับ IP Address ตัวอย่างของ Domain Name Domain Name เจ้าของ
www.microsoft.com บริษัทไมโครซอฟต์
www.amazon.com ร้านขายหนังสือ Amazon
www.nontri.ac.th มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Domain Name ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า "subdomains" ซึ่งมีความหมายดังนี้
ส่วนแรก บอกถึงชนิดของ Server ว่าเป็น WWW server หรือเป็น FTP server
ส่วนสอง เป็นชื่อของ Domain ซึ่งมักจะตั้งตามชื่อของบริษัทหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของ
ส่วนสาม เป็นส่วนที่ระบุถึงชนิดและสัญชาติของ Domain นั้นๆ เช่น นามสกุลของ Domain Name คำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น