วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่1

1. ข้อมูล (Data) แตกต่างจากสารสนเทศ ( Information) อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ข้อมูล (Data)คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งรอบๆตัว
ส่วน สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง จนได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และอยู่ในช่วงเวลาที่ต้องการของผู้ใช้
                                                                                                                                          
2. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้ LAN, MAN, WAN, Cyberspace, Mainframe, Microcomputer  
ตอบ  LAN ย่อมาจากคำว่า (Local Area Network)
ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่ไกลมากนักโดยปกติมักเชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตรคือเป็นระบบเน็ตเวิร์กที่อยู่ภายใต้อาคารเดียวกันหรือต่างอาคารในระยะใกล้ๆ และไม่ต้องใช้เครือข่ายการสื่อสารขององค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย

MAN ย่อมาจากคำว่า (Metropolitan Area Wetwork)
ระบบเครือข่ายขนาดกลาง เป็ระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องอาศัยโครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นการติดต่อกันในระดับเขต แต่เป็นระบบเน็ตเวิร์กในระยะไม่เกิน 50 กิโลเมตร

WAN ย่อมาจากคำว่า (Wide Area Network)
-ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ หรือติดตสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยทั่วไปเรียกว่า world wide web สามารถส่งได้ทั้ง ข้อมูล ภาพและเสียง โดยจะต้องใช้ media ในการติดต่อสื่อสารโดยจะต้องใช้ คู่สายโทรศัพท์ dial - up line คู่สายเช่า leased line / ISDN
ขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงจะสามารถใช้อย่างสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพ

cyberspace   หมายถึง พื้นที่ว่างในที่นี้หมายถึง ที่ว่าง หรืออวกาศ ที่สร้างขึ้นด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เพื่อสื่อสารติดต่อกัน ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ทั่วโลกเหมือนท่องไปในอวกาศ เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

mainframe หมายถึง คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีสมรรถนะสูง เครื่องเมนเฟรม, หน่วยประมวลผลส่วนกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์

microcomputer หมายถึง เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
                                                                                                                                     
3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านใดบ้าง
ตอบ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
                                                                                                                                      
4. จงยกตัวอย่างของระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของ
     ระบบที่ยกตัวอย่างมาพอสังเขป
ตอบ ระบบเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless LAN) บ้านหลาย ๆ บ้านทุกวันนี้ไม่ใช่มีแต่คอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ระบบเครือข่ายโดยเทคโนโลยีแบบไร้สายสามารถเชื่อมต่อกันได้ และสามารถที่จะใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางเคเบิลโมเด็มได้ด้วย

การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card) ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้ - แลนการ์ดแบบ PCI - แลนการ์ดแบบ PCMCIA - แลนการ์ดแบบ USB - แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point) ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna) ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
                                                                                                                                             
5. จงอธิบายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณใน
    ด้านใดและอย่างไร
ตอบ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อสุขภาพจิต เมื่อการดำเนินชีวิตจากเดิมที่เป็นแบบเรียบง่าย ต้องเปลี่ยนมาปรับตัวให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา ก็อาจจะทำให้เกิด ความเครียด ความวิตกกังวล ไม่ว่าจะให้หน้าที่การงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวันก็ตาม - พฤติกรรมของเยาวชน โดยเฉพาะพวกเกมส์คอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชนพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ การใช้กำลัง เป็นต้น นักธุรกิจก็ต้องทำงานแข่งกำเวลา ไม่มีเวลาได้พักผ่อนก็ก่อให้เกิดความเครียด สุขภาพจิตก็เสียตามมาด้วย
                                                                                                                                          
6. คุณคิดว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด
ตอบ การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มี ความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย
แนวโน้มใน ด้านบวก
-การ พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่องทางการดำเนินธุรกิจ เช่น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง และบันเทิงต่างๆ เกมออนไลน์
-การ พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถฟังและตอบเป็นภาษา พูดได้ อ่านตัวอักษรหรือลายมือเขียนได้ การแสดงผลของคอมพิวเตอร์ได้เสมือนจริง เป็นแบบสามมิติ และการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เสมือนว่าได้อยู่ในที่นั้นจริง
-การพัฒนาระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูล ฐานความรู้ เพื่อพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญและการจัดการความรู้
-การ ศึกษาตามอัธยาศัยด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนการสอนด้วยระบบโทรศึกษา (tele-education) การค้นคว้าหาความรู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงจากห้องสมุดเสมือน (virtual library)
แนวโน้มใน ด้านลบ
-ความ ผิดพลาดในการทำงานของระบบ คอมพิวเตอร์ ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนา ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและสูญเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
-การละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
-การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
                                                                                                                                            

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1. จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของข้อมูลที่ดี มี 6 ประการ คือ
 1. ความถูกต้องแม่นยำ
 2.ความทันเวลา 
 3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน 
 4. ความกะทัดรัด
 5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้
 6. ความต่อเนื่อง
                                                                                                           
2. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ใน
  ชีวิตประจำวัน 
ตอบ  ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์     หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ  องค์ประกอบของระบบ
    ฐานข้อมูล  แบ่งออกเป็น  5  ประเภท คือ
        1. ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
        2. โปรแกรม  (  Program  )
        3. ข้อมูล  (  Data  )
        4. บุคลากร  (  People  )
        5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (  Procedures  )
                                       
                                ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
           ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นขนาดของหน่วยความจำ  ความเร็วของหน่วยประมวลผล
    กลาง  อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงาน  รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                             โปรแกรม  (  Program  )
                 ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง  การเรียกใช้ข้อมูล  การจัดทำรายงาน  การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครง
    สร้าง  การควบคุม  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบจัดการฐานข้อมูล  (  Database  Management  System  )  คือโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้
    และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล
                                             ข้อมูล  (  Data  )
       ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้
      สามารถใช้ร่วมกันได้  ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล  จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น  ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง  (  Physical  Level )  ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้  ( External  Level  )
                                       บุคลากร  (  People  )
             ผู้ใช้ทั่วไป  เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล  เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้  เช่น  ในระบบ
    ข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน  ผู้ใช้ทั่วไป  คือ  พนักงานจองตั๋ว
    พนักงานปฏิบัติงาน  (  Operating  ) เป็นผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล  การป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์
    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (  System  Analyst  ) เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล  และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้
    ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  (  Programmer  ) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บการเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
    ผู้บริหารงานฐานข้อมูล  (  Database  Administrator  : DBA  )  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารและควบคุม
    การบริหารงานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด  เป็นผู้ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ  จัดเก็บโดยวิธีใด  เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล  กำหนดระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  การสร้างระบบข้อมูล
    สำรอง  การกู้  และประสานงานกับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร  รวมถึงนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  และโปรแกรมเมอร์  ประยุกต์ใช้งาน  เพื่อให้การบริหารการใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                                     ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedures ) 
          ในระบบฐานข้อมูลควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่การงานต่างๆ   ในระบบฐานข้อมูล ในสภาวะปกติ และในสภาวะที่ระบบเกิดปัญหา ( Failure ) ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร
                                                                                                              
3. จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
ตอบ ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล 
1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 
2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล 
3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล 
4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง 
5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง
                                                                                                             
4. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
 4.1 MIS คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
  
4.2  DSS คือ DSS (Decision support system) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจง่ายขึ้น สิ่งนี้เป็น สารสนเทศประยุกต์ (ซึ่งต้องแยกจากการปฏิบัติประยุกต์ที่รวบรวมข้อมูลของการปฏิบัติงานปกติ) แบบแผนของสารสนเทศ ที่เป็นการประยุกต์สนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งต้องรวมรวมและนำเสนอ คือ

           - การเปรียบเทียบการขายระหว่างสัปดาห์ 
           - การคาดการณ์รายรับ ตามข้อสมมติของการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ 
           - ผลต่อเนื่องจากทางเลือกในการตัดสินใจต่าง ๆ โดยประสบการณ์ในอดีตเป็นแนวในการ

อธิบาย Decision support system อาจจะเสนอสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ และอาจจะรวมถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export system) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับผู้บริหารธุรกิจ หรือกลุ่มพนักงานที่มีระดับความรู้
  
4.3  ES คือ Sporadic E หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า E-Skip (Es) คือปรากฏการที่ไม่ปกติของการแตกตัวของประจุไฟฟ้า (Ion) ในบรรยากาศชั้นย่อย E ของชั้นบรรยากาศหลัก Ionosphere และสะท้อนสัญญาณโทรทัศน์ และความถี่วิทยุ FM ซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงความถี่ 150 MHz เลยที่เดียว E-Skip นั้นสามารถส่งผลให้คลื่นวิทยุเดินทางได้ไกลกว่าปกติที่ควรเป็นมาก การเกิด E-Skip นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเกิด Tropospheric Ducting ที่เรารู้จักกันแต่อย่างใด
  
4.4  DP คือ ผู้ซื้อจะรับเอกสารเพื่อไปแลกสินค้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้านั้นแล้ว  ในทางการค้าระหว่างประเทศ  เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้ว  ผู้ซื้อยังไม่สามารถรับสินค้าได้ทันที  ผู้ซื้อจะต้องรอเอกสารจากผู้ขาย  เพื่อจะนำไปแลกสินค้าจากบริษัทเรือหรือบริษัทขนส่ง  เอกสารที่สำคัญคือ “ใบตราส่ง”  ที่ออกโดยบริษัทเรือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ตั๋วเรือ” (Bill of Lading)  ผู้ซื้อจะได้เอกสารนี้จากธนาคารที่ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินต่อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารดังกล่าว  การตั้งเงื่อนไขแบบ D/P นี้ทำให้ผู้ขายไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่มอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงิน  เงื่อนไข D/P นี้ใช้ได้กับตั๋วที่เป็น Sight Bill และ Time Bill

 4.5  EIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
                                                                                                            
5.  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้
  5.1 MIS กับ DP
ตอบ  MIS ผู้ใช้งาน คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  DP คือ ผู้ซื้อจะรับเอกสารเพื่อไปแลกสินค้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้านั้นแล้ว

5.2 DSS กับ MIS
 ตอบ  ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS
1.ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน 2.ระบบเอ็มไอเอสจะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลังหรือแม้แต่ระบบโดยรวมขององค์กรทั้งหมด ในขณะที่ระบบดีเอสเอสเป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู่ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที
4.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอาเอาจะให้สารสนรเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

 5.3 EIS กับ DSS
ตอบ EIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง