วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

1.จงอธิบายถึงผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ 
1.1  ด้านเศรษฐกิจ
= ทำ ให้สังคมมีชีวิตที่เร่งรีบและมีการแข่งขันที่สูง คนที่ใช้สมองจะมีเงินเดือนมากกว่าคนใช้แรงงานทำให้เกิดคนชั้นกลางมากขึ้น และส่งผลถึงสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยการทำลายสิ่งแวดล้อมก็จะทำได้เร็วขึ้น 
1.2  ด้านการศึกษา
=การ เรียนรู้สามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วซึ่งทำให้เปลี่ยนไปจากรูปแบบเดิม เช่นผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนหรือวิชาที่ตัวเองชอบได้เองโดยไม่ต้องมี ตรารางเรียน และเทคโนโลยียังส่งผลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ได้การเรียนการสอนก็จะได้รับผลกระทบตามมาด้วย 
1.3  ด้านกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
= ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมื่อชีวิตมีความเร่งรีบ มีการแข่งขันที่สูงทำให้คนในสังคมเกิดการเห็นแก่ตัวไม่สนใจคนรอบข้างคิดหา แต่หนทางที่จะเอาเปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ต่อตนเองโดยไม่คิดว่าคน อื่นจะเดือดร้อนเพียงใด
2.จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป
= ด้าน เศรษฐกิจ เพราะ เป็นปัจจัยหรือปัญหาหลักของทุกปัญหา เช่น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นจากการผลิตสินค้าที่ออกมาใหม่อยู่ตลอด เกิดการแข่งขันที่สูง สิ่งแวดล้อมรอบตัวถูกทำลายส่งผลไปถึงเรื่องของสุขภาพที่จะเกิดขึ้นตามมา
3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา
= ทำ ให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีคุณภาพ มีเนื้อหาที่หลากหลาย การสืบค้นข้อมูลต่างๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้รับข่าวสารใหม่ๆอยู่ตลอดทำให้สามารถปรับตัวหรือการใช้ชีวิตได้ทัน เหตุการณ์
4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
=ทำ ให้เกิดช่องว่างทางการศึกษา เช่น ระหว่างเด็กที่อยู่ในเมืองกับเด็กที่อยู่ตามชนบท และการเรียนรู้อาจมีความเบื่อหน่ายเพราะเด็กต้องเรียนเรื่องเดิมๆอยู่ตลอด เด็กจึงไม่ใส่ใจจึงทำให้การเรียนไม่เกิดความรู้ และทำให้การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างไม่มีความสุขเพราะ การมีชีวิตที่เร่งรีบ บวกกับการมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตามไปด้วย

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่6

1.แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร

- ทำให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนาทั้งต่อตนเอง ต่อสถาศึกษา และต่อสังคม ทำให้เกิดทักษะ มีความกระตือรือร้นที่จะแสวงหาข้อมูลใหม่ๆด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต

2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใดได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูล
สารสนเทศในรูปแบบใด

-ห้องสมุด เป็นแหล่งสารสนเทศการค้นคว้าที่แพร่หลายมากที่สุด เป็นศูนย์กลางของสรรพวิชาทุกแขนง

ซึ่งบันทึกข้อมูล หรือสารสนเทศไว้ในสิ่งพิมพ์ และวัสดุไม่ตีพิมพ์ เช่น สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ศูนย์เอกสารหรือศูนย์ข้อมูล ซึ่งจะทำการรวบรวมข้อมูลของสาขาใดสาขาหนึ่ง ที่มีการวิเคราะห์และกลั่นกรอง ประมวลข้อมูลเนื้อหาข้อมูลเฉพาะวิชา และจัดเก็บอย่งเป็นระบบเพื่อให้บริการแก่นักวิจัยหรือนักวิชาการ

นอกจากนี้ยังมีแหล่งสารสนเทศหาความรู้อื่นๆ เช่น ศูนย์วัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์ ศูนย์เยาวชน วัดและศาสนสถาน เป็นต้น นอกจากนี้บุคคลก็ถือเป็นแหล่งสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน

3.จงยกตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล(search engine) ว่ามีชื่ออะไรและมีรูปแบบและเทคนิค
การสืบค้นข้อมูลอย่างไรมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

- ตัวอย่าง

ข้อมูลวิชาการ-คอมพิวเตอร์

เป็นการให้บริการที่ทันสมัยโดยผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวบรวมข้อมูลเอาไว้ต่างๆมากมาก ง่ายต่อการค้นหาข้อมูล ตัวอย่างเช่น การดาวโหลดโปรแกรมฟรี รวมเว็บไซด์สำหรับผู้สนใจ software หรือ Google site เอาไว้ให้สร้างเว็บไซด์ฟรีๆ เป็นต้น

4.จงบอกลักษณะของการบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งที่ให้บริการต่อไปนี้
4.1 FTP

- คือ รู้แบบมาตรฐานบนโครงข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับการส่งไฟล์หรือรับไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้ได้นั้นต้องเป็นสมาชิก หรือมีรหัสผ่านก่อน

4.2 E-mail

- อีเมล (อังกฤษ: e-mail, email) ย่อมาจาก จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย

4.3 ICQ

- เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ต ย่อมาจากคำว่า (seek you)

4.4 Web board


- คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web.. WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์ สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก GuestBook ตรงที่ WebBoard จะสามารถแยก หัวข้อต่างๆ ออกเป็นกระทู้ๆ มีความโต้ตอบกันในการสนทนา ในหัวข้อเดียวกันมากกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5

1. จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด
ตอบ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต
การพัฒนาอาร์พาเน็ตได้ดำเนินการมาเป็นลำดับและได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2512 โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น 316 ของฮันนีเวลล์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันและอยู่ในสถานที่ 4 แห่งคือ
1) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแอนเจลิส
2) สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
3) มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา
4) มหาวิทยาลัยยูทาห์
อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จอย่างมากทำให้มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเชื่อมต่อเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาร์พาเน็ตกลายเป็นเครือข่ายที่ใช้งานได้จริง หน่วยงานอาร์พามีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และเรียกชื่อใหม่ว่า ดาร์พา (Defense Advanced Research Project Agency : DARPA) และต่อมาได้โอนความรับผิดชอบอาร์พาเน็ตให้กับหน่วยการสื่อสารของกองทัพในปี พ.ศ. 2518
เครือข่ายอาร์พาเน็ตนั้นได้มีแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นโดยใช้เกณฑ์วิธี หรือโพรโทคอล (protocol) ชื่อ คาห์น-เซอร์ฟ (Kahn-Cerf Protocol) ตามชื่อของผู้ออกแบบคือ บ๊อบ คาห์น (Bob Kahn) และวินตัน เซอร์ฟ (Vinton Cerf) ซึ่งก็คือ โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol : TCP/IP) ที่รู้จักกันในปัจจุบัน และได้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ต้องการต่ออินเทอร์เน็ตใช้โพรโทคอลนี้ในปี พ.ศ. 2526
ในปลายปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ตได้แบ่งออกเป็นสองเครือข่ายคือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่ายของกองทัพ (MILNET) โดยในช่วงต้นนั้นเครือข่ายทั้งสองเป็นเครือข่ายแกนหลักสำคัญภายในทวีปอเมริกาเหนือ และในช่วงเวลาต่อมาหน่วยงานหลักของสหรัฐที่มีเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เชื่อมต่อเข้ามา เช่น เอ็นเอฟเอสเน็ต (NFSNet) และเครือข่ายของนาซา ทำให้มีการปรับเปลี่ยนชื่อจาก อาร์พา เป็นเฟเดอรัล รีเสิร์ช อินเทอร์เน็ต และเปลี่ยนไปเป็น ทีซีพี/ไอพี  อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งเป็นอินเทอร์เน็ต ในปัจจุบัน สำหรับประเทศไทย เริ่มเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ต่อเชื่อมโยงเพื่อส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมกับอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีโครงการที่จะเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยขึ้น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทยก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้น
                                                                                                                                           
2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ตอบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยในระยะเริ่มต้น ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับการวิจัยและพัฒนาที่มีชื่อว่าเครือข่ายไทยสาร (ThaiSARN : The Thai Social/Sceientific, Academic and Research Network) ก่อตั้งขึ้นราวเดือน เมษายน 2535 โดยมีการเชื่อมต่อเครือข่ ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อ มหาวิทยาลัยที่เชื่อมต่อในระยะเริ่มต้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศ าสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับเงินอุดหนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) โดยสนับสนุนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นแม่ข่าย (Server) อุปกรณ์การสื่อสารระบบเครือข่าย พร้อมการเช่าสัญญาณสายสื่อสารจาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปยังเนคเทคเครือข่ายไทยสารนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ครั้งแรกเมื่อเดือน สิงหาคม 2535 โดยผ่านทาง Gatewayที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ดำเนินการโดยสำนักวิทยบริการ) และการเชื่อมต่อไปอินเตอร์เน็ตนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเป็นค่าเช่าวงจรต่าง ประเทศแต่เพียงผู้เดียว (ในระยะเริ่มแรกเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 9,600 bps เสียค่าเช่าประมาณปีละ 2.5 ล้านบาท) ต่อมาเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2536 เนคเทค ได้เช่าวงจรเป็น Gateway ที่สองของประเทศไทยที่ออกไปสู่อินเตอร์เน็ต และในปัจจุบันได้มี Gateway ออกไ ปสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มเติมอีก เช่นที่ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งเป็น Gateway แรกที่เปิดบริการอินเตอร์เน็ต สำหรับภาคเอกชนในประเทศไทย ในปัจจุบันมีศูนย์บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider) สำหรับประชาชนทั่วไปมากมายเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยของรัฐเกือบทุกมหาวิทยาลัย ได้เข้าเชื่อมต่อกับไทยสารและสามารถออกสู่อินเตอร์เน็ตได้แล้ว ซึ่งในขั้นต่อไป ก็ได้มีความพยายามจะขยายเครือข่ายไทยสารอินเตอร์เน็ต ออกไปให้ครอบคลุมสถาบันการศึกษาอื่น ๆ อีก เช่น สถาบันราชภัฏ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และ โรงเรียนมัธยมการเชื่อมต่อเครือข่ายของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ กับไทยสาร จะอยู่ที่ความเร็วที่แตกต่างกัน และผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channel) ที่แตกต่างกัน ความเร็วอาจจะเป็นที่ 9,600 bps, 19.2 Kbps, 64 Kbps และใช้ช่องทางการสื่อสาร ตั้งแต่การหมุนผ่านสายโทรศัพ ท์ (Dial-up) หรือใช้วงจรเช่า (Leased line) ขององค์การโทรศัพท์ หรือการบริการจากภาคเอกชน หรือใช้ดาวเทียม เป็นต้น
                                                                                                                                          
3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 

    และมี URL ว่าอย่างไร

ตอบ  ธุรกิจการสื่อสาร เช่น DTAC มี URL ว่า https://www.dtac.co.th/?gclid=CNC_-IP_qrQCFYl66wod4ysA0A
                                                                                                                                           
4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไร 
    บ้าง และทำหน้าที่อะไร

ตอบ ไอซ็อก ไอเอบี ไออีทีเอฟ และไออาร์ทีเอฟ ไอซ็อก
สมาคมอินเทอร์เน็ต หรือ ไอซ็อก (ISOC : Internet Society) เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2535 ไอซ็อกเป็นองค์กรที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตให้แพร่หลาย รวมทั้งสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยไอเอบี ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอซ็อกยังทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้ทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต ไอเอบี

ไอเอบี (IAB : Internet Architecture Board) เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่เดิมนั้นใช้ชื่อว่า Internet Activities Board เมื่อไอซ็อกถือกำเนิดขึ้นก็ได้โอนไอเอบีเข้ามาเป็นหน่วยงานในสังกัด หน้าที่ของไอเอบีคือผลักดันและดูแลพัฒนาการด้านเทคนิคของอินเทอร์เน็ตให้กับไอซ็อก ไอเอบีดูแลองค์กรสองแห่งซึ่งดำเนินงานด้านเทคนิคโดยตรงได้แก่ไออีทีเอฟและไออาร์ทีเอฟ นอกจากนี้ไอเอบียังทำหน้าที่จัดการงานบรรณาธิการและตีพิมพ์เอกสาร อาร์เอฟซี และการกำหนดหมายเลขเพื่อใช้ในอินเทอร์เน็ต โดยไอเอบีมอบภาระงานทั้งสองนี้ให้กับ บรรณาธิการอาร์เอฟซี (RFC Editor) และ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ตามลำดับ ไออีทีเอฟ

ไออีทีเอฟ (IETF : Internet Engineering Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออีเอสจี (IESG : Internet Engineering Steering Group) ไออีทีเอฟประกอบด้วยอาสาสมัคร และผู้เชี่ยวชาญร่วมมือกันพัฒนาสถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ต และช่วยให้อินเทอร์เน็ตดำเนินการได้โดยราบรื่น ไออีทีเอฟเป็นองค์กรที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมทำงานได้ ไออีทีเอฟทำหน้าที่ด้านเทคนิคโดยการสร้าง ทดสอบ และนำมาตรฐานอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน มาตรฐานอินเทอร์เน็ตจะผ่านการพิจารณาเห็นชอบโดยไออีเอสจีโดยมีไอเอบีเป็น ที่ปรึกษา งานด้านเทคนิคของไออีทีเอฟแบ่งออกได้เป็นสาขา แต่ละสาขาประกอบด้วยคณะทำงานกลุ่มย่อยที่มีผู้อำนวยการสาขา (Area Directors) เป็นผู้ดูแลจัดการ ผู้อำนวยการสาขาทั้งหมดรวมกับประธานของไออีทีเอฟจะประกอบกันเป็นไออีเอสจี ขณะปัจจุบันไออีทีเอฟจัดแบ่งออกเป็น 9 สาขาได้แก่ สาขาประยุกต์ (Applications Area), สาขาทั่วไป (General Area), สาขาอินเทอร์เน็ต (Internet Area), สาขาการดำเนินงานและการจัดการ (Operations and Management Area), สาขาการเลือกเส้นทาง (Routing Area), สาขาความปลอดภัย (Security Area), สาขาโปรโตคอลทรานสพอร์ต (Transport Area), สาขาการให้บริการผู้ใช้ (User Services Area), และสาขางานย่อยไอพี (Sub-IP Area) ทั้ง 9 สาขานี้ในปัจจุบันประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) รวมทั้งสิ้น 133 กลุ่ม ไออาร์ทีเอฟ

ไออาร์ทีเอฟ (IRTF : Internet Research Task Force) เป็นแหล่งรวมของคณะทำงานวิจัยที่อยู่ภายใต้การดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการไออาร์เอสจี (IRSG : Internet Research Steering Group) งานของไออาร์ทีเอฟเน้นหนักงานวิจัยระยะยาวในอินเทอร์เน็ต ขณะที่ไออีทีเอฟเน้นหนักงานด้านวิศวกรรมและการจัดทำมาตรฐาน เพื่อใช้งานในปัจจุบัน ไออาร์ทีเอฟมีคณะวิจัย (Research Groups) ในด้านต่างๆได้แก่ อินเทอร์เน็ตโปรโตคอล การประยุกต์ สถาปัตยกรรม และเทคโนโลยี รวมทั้งสิ้น 12 คณะ องค์กรดูแลด้านข้อมูลและทะเบียน องค์กรในกลุ่มนี้ทำหน้าที่เชิงการจัดการด้านเทคนิคและการประสานงานเครือข่าย งานหลักส่วนหนึ่งในการดำเนินการอินเทอร์เน็ตได้แก่ การจัดสรรแอดเดรส การกำหนดค่าพารามิเตอร์และทะเบียนหมายเลขประจำแต่ละโปรโตคอล รวมทั้งการบริหารโดเมนและจดทะเบียนโดเมน งานนี้แต่เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของ ไอนา (IANA : Internet Assigned Number Authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการดำเนินงานรัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันภาระงานนี้ได้ถ่ายโอนไปยังหน่วยงานใหม่ซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541 คือ ไอแคน (ICANN : The Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ไอแคนเป็นบรรษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นผลกำไร และบริหารจัดการโดยคณะกรรรมการที่ได้รับเลือกมาจากนานาชาติ ไอแลนมอบอำนาจให้ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่แบ่งออกไปตามภูมิภาคทำหน้าที่ดูแลการจัดสรรแอดเดรสและบริหารโดเมน
                                                                                                                                           
5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน

ตอบ IP Address เครือข่ายอินเตอร์เน็ตใช้รหัสหมายเลขมากำหนดให้แต่ละเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์ภานในเครือข่ายที่เชื่อมโยง เรียกหมายเลขเหล่านั้นว่า IP Address หรือ Internet Address ซึ่งการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ตจะอาศัยหมายเลข IP Address นี้ในการระบุเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางโดย IP Addressประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 32บิต แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็ทำการแปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนคั่นด้วยจุด ดังนั้น หมายเลขทั้งหมดที่เป็นไปได้ โดยค่าไม่ซ้ำกันคือ 2 หรือเท่ากับ4,294,967,296 จำนวน มีค่าหมายเลขตั้งแต่ 000.000.000.000 จนถึง 255.255.255.255 หมายเลขนี้เองที่อินเตอร์เน็ตใช้กำหนดให้กับเครือข่ายและเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อ้างอิง IP Address บางหมายเลขสงวนไว้ใช้ด้วยจุดมุ่งหมายกรณีพิเศษทำให้ IP Address ที่ใช้งานทั่วไปลดลงจากจำนวนที่เป็นไปได้ ความหมายของ IP Address จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครือข่าย (Network Number)
2. กลุ่มที่ใช้เป็นรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในเครือข่าย (Host Number)
IP Address ในกลุ่มรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถซ้ำกันได้แต่กลุ่มรหัสประจำเครือข่ายจะซ้ำกันไม่ได้ ดังนั้นรหัสเครื่องที่ซ้ำกันจึงไม่มีผลต่อการอ้างอิงถึง นอกจากนี้เพื่อความเหมาะสมในการกำหนด IP Address ให้กับผู้ขอ ทางผู้บริหารของอินเตอร์เน็ตแบ่ง คลาสของผู้ขอ IP Address ตามขนาดของเครือข่าย เพื่อให้ ทรัพยากรส่วนนี้ถูกใช้อย่าง คุ้มค่าที่สุด องค์กรขนาดใหญ่ก็จะจัดให้อยู่ในคลาสที่สามารถกำหนด IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในเครือข่ายได้ มาก การแบ่งคลาส จะแบ่งได้ 5 ระดับ (Class) คือ Class A, Class B, Class C, Class D, Class E แต่ที่ใช้งานในทั่ว ไปจะมีเพียง 3 ระดับคือ Class A, Class B, Class C ซึ่งแบ่งตามขนาดของเครือข่ายนั่นเอง
ในปัจจุบัน IP ที่อยู่ใน Class A ถูกใช้ในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน Class B จะใช้กับองค์กรใหญ่ เช่น Nectec ส่วน บริษัทหรือบุคคลทั่วไป
Domain Name เป็นชื่อเรียกที่ใช้เรียกแทน IP Address ต่างๆ ที่เว็บไซต์นั้นๆ เก็บอยู่เพื่อให้ง่ายต่อการจดและเรียกใช้งาน หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยง และการใช้อินเตอร์เน็ต คือ Inter NIC (InternetNetwork Information Center) ผู้จัดการบริการ Domain ได้ทำการจัดตั้ง DNS (Domain Name System)เป็นฐานข้อมูลที่เก็บ และระบบจัดการชื่อลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า Domain Name Server โดยที่ Serverนี้ทำหน้าที่เป็นดัชนีในการเปิดดูบัญชีหมายเลข IP Address (Lookup) จาก Domain Name ที่รับเข้ามาหรือสรุป ง่ายๆ ก็คือทำการเปลี่ยนชื่อ Domain ให้เป็น IP Addressนั่นเองส่วนของ Domain Name ประกอบด้วยส่วนที่เป็นการกำหนดประเภทขององค์กรเจ้าของเครือข่ายนอกจากนั้น Inter NIC ยังอนุญาตให้เพิ่มการระบุว่าเครือข่ายหรือองค์กรเจ้าของเครือข่ายอยู่ในประเทศใด และผู้สร้างเครือข่าย สามารถกำหนดชื่อเครือข่ายย่อยที่มีอยู่ลงไว้ใน Domain Name ได้ด้วย ส่วนประกอบย่อยของ Domain Name แยกกันด้วยจุดเช่นเดียวกับ IP Address ตัวอย่างของ Domain Name Domain Name เจ้าของ
www.microsoft.com บริษัทไมโครซอฟต์
www.amazon.com ร้านขายหนังสือ Amazon
www.nontri.ac.th มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Domain Name ประกอบด้วย 3 ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า "subdomains" ซึ่งมีความหมายดังนี้
ส่วนแรก บอกถึงชนิดของ Server ว่าเป็น WWW server หรือเป็น FTP server
ส่วนสอง เป็นชื่อของ Domain ซึ่งมักจะตั้งตามชื่อของบริษัทหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของ
ส่วนสาม เป็นส่วนที่ระบุถึงชนิดและสัญชาติของ Domain นั้นๆ เช่น นามสกุลของ Domain Name คำ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1.จงบอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ
ตอบ การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง
1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น
                                                                                                                                             
2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล

ตอบ สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น
สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น
                                                                                                                                            
3.จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูลว่ามีกี่แบบ อะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ 3 แบบ คือ
1. แบบทิศทางเดียว
2. แบบกึ่งสองทิศทาง
3. แบบสองทิศทาง
                                                                                                                                            
4.จงบอกคุณสมบัติของสายสัญญาณว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง พร้อมให้จัดลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ
ตอบ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
(1) สายสายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable)เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และนิยมมากในครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายคู่เกลียวบิตและสายใยแก้วนำแสง สายโคแอ็กซ์ สายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable) เรียกสั้นๆว่าสาย (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า “มีแกนร่วมกัน” ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ รูปที่ 2.13 แสดงโครงสร้างของสายโคแอ็กเซียล โดยทั่วๆไป
(2) สายคู่เกลียวบิต (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) สายคู่เกลียวบิตหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนบิตเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิตเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนซึ่งกันและกัน
                                                                                                                                             
5.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้
5.1 Repeater
  5.2 Bridge
  5.3 Switch
  5.4Gateway
ตอบ
   Repeater = เป็นอุปกรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง Segment ของสายสัญญาณ LAN เข้าจังหวะและสร้างสัญญาณ Digital บนสายสัญญาณขึ้นใหม่ และส่งออกไป
   Bridge = ใช้เพื่อยืดระยะเครือข่าย และแบ่งแยกการจราจรของข้อมูลใน Segment โดย Bridge ส่งต่อการจราจรของข้อมูลจากระบบสายสัญญาณหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมี Address ปลายทาง ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบสายสัญญาณอีกเส้น ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดการจราจรของข้อมูลที่ไม่จำเป็นบนทั้งสองระบบ
   Switch = มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป
  Gateway = เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gatewayในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch
                                                                                                                                              
6.จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบ
วงแหวน ( Ring)
ตอบ เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
ข้อดี คือ สามารถจัดการได้ทั้งเครือข่ายแบบ client/server และแบบ peer-to-peer
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของสัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
ข้อดี ข่าวสารจะเคลื่อนที่เป็นลำดับไปในทิศทางเดียว ขจัดปัญหาการชนกันของสัญญาณ
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
                                                                                                                                          
7. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก 
(Logical level )
ตอบ เครือข่ายส่วนใหญ่ที่พบเห็นกัน จะใช้สายเคเบิลเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปผ่านมา เนื่องจากมีราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง แต่บางครั้งก็อาจจะมีการผสมผสานสื่อบางตัวเข้าไปในระบบด้วย เช่น คลื่นวิทยุ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดที่อาจเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลได้ลำบาก ระดับตรรก โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกเป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี
                                                                                                                                           
8.จงอธิบายความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ
แบบ  Client-Server
ตอบ Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ client-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น server เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด เครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย จะสามารถเข้าใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าใช้งานไฟล์ในเครื่องอื่นๆ ได้ นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่างๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่นๆ ในระบบ เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีหน่วยความจำสำรอง (harddisk) ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด และควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง ชนิดของเซิร์ฟเวอร์มีได้ 2 รูปแบบคือ
(1) Dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่วๆ ไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงได้
(2) Non-dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3

1. ยกตัวอย่างลักษณะของงานไฮเปอร์มีเดีย
ตอบ ไฮเปอร์มีเดีย (สื่อหลายมิติ) เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)
                                                                                                                                          
2. ให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลประเภทไฮเปอร์มีเดียมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ตอบ ไฮเปอร์มีเดียสามารถใช้สำหรับจุดประสงค์ที่แตกต่างกันที่สำคัญ 3 ประการ
1.การสืบค้น Browsimg ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ 2.การเชื่อมโยง Linkimg ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยังแฟ้มข้อมูลต่างๆ
3.สร้างบทเรียน Authoring หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ
                                                                                                                                          
3. ยกตัวอย่างลักษณะของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานไฮเปอร์มีเดีย
ตอบ โปรแกรมสำหรับสร้างงานไฮเปอร์มีเดียเป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศสามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอัษรและการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์
                                                                                                                                           
4. นักศึกษาทดลองใช้โปรแกรมสร้างงานไฮเปอร์มีเดีย
  เช่น ToolBook, Macromedia, Director,  Macromedia Authoware อย่างน้อย 1 
  โปรแกรม
ตอบ โปรแกรมศึกษามาคือโปรแกรมขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด จะเริ่มด้วยการกำหนดหัวเรื่อง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แลพกลุ่มเป้าหมายสื่อมัลติมิเดียจะมีอยู่ 7 ขั้นตอน
1.ขั้นการเตรียม
2.ขั้นตอนการออกแบบการเรียน
3.ขั้นตอนการเขียนผังงาน
4.ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด
5.ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม
6.ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน
7.ขั้นตอนการประเมิณผลและแก้ไขบทเรียน