วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1. จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ ลักษณะของข้อมูลที่ดี มี 6 ประการ คือ
 1. ความถูกต้องแม่นยำ
 2.ความทันเวลา 
 3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน 
 4. ความกะทัดรัด
 5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้
 6. ความต่อเนื่อง
                                                                                                           
2. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล  พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ใน
  ชีวิตประจำวัน 
ตอบ  ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลโดยมีซอฟแวร์     หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ  องค์ประกอบของระบบ
    ฐานข้อมูล  แบ่งออกเป็น  5  ประเภท คือ
        1. ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
        2. โปรแกรม  (  Program  )
        3. ข้อมูล  (  Data  )
        4. บุคลากร  (  People  )
        5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  (  Procedures  )
                                       
                                ฮาร์ดแวร์  (  Hardware  )
           ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นขนาดของหน่วยความจำ  ความเร็วของหน่วยประมวลผล
    กลาง  อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงาน  รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                             โปรแกรม  (  Program  )
                 ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง  การเรียกใช้ข้อมูล  การจัดทำรายงาน  การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครง
    สร้าง  การควบคุม  หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า  ระบบจัดการฐานข้อมูล  (  Database  Management  System  )  คือโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้
    และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล
                                             ข้อมูล  (  Data  )
       ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้
      สามารถใช้ร่วมกันได้  ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล  จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน  เช่น  ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง  (  Physical  Level )  ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้  ( External  Level  )
                                       บุคลากร  (  People  )
             ผู้ใช้ทั่วไป  เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล  เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้  เช่น  ในระบบ
    ข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน  ผู้ใช้ทั่วไป  คือ  พนักงานจองตั๋ว
    พนักงานปฏิบัติงาน  (  Operating  ) เป็นผู้ปฏิบัติการด้านการประมวลผล  การป้อนข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์
    นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  (  System  Analyst  ) เป็นบุคลากรที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบฐานข้อมูล  และออกแบบระบบงานที่จะนำมาใช้
    ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งาน  (  Programmer  ) เป็นผู้ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ เพื่อให้การจัดเก็บการเรียกใช้ข้อมูลเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้
    ผู้บริหารงานฐานข้อมูล  (  Database  Administrator  : DBA  )  เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่บริหารและควบคุม
    การบริหารงานของระบบฐานข้อมูลทั้งหมด  เป็นผู้ที่จะต้องตัดสินใจว่าจะรวบรวมข้อมูลอะไรเข้าสู่ระบบ  จัดเก็บโดยวิธีใด  เทคนิคการเรียกใช้ข้อมูล  กำหนดระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล  การสร้างระบบข้อมูล
    สำรอง  การกู้  และประสานงานกับผู้ใช้ว่าต้องการใช้ข้อมูลอย่างไร  รวมถึงนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ  และโปรแกรมเมอร์  ประยุกต์ใช้งาน  เพื่อให้การบริหารการใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                                     ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedures ) 
          ในระบบฐานข้อมูลควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่การงานต่างๆ   ในระบบฐานข้อมูล ในสภาวะปกติ และในสภาวะที่ระบบเกิดปัญหา ( Failure ) ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร
                                                                                                              
3. จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล
ตอบ ประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล 
1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล 
2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล 
3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล 
4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง 
5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง
                                                                                                             
4. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
 4.1 MIS คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ
  
4.2  DSS คือ DSS (Decision support system) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอเพื่อให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจทางธุรกิจง่ายขึ้น สิ่งนี้เป็น สารสนเทศประยุกต์ (ซึ่งต้องแยกจากการปฏิบัติประยุกต์ที่รวบรวมข้อมูลของการปฏิบัติงานปกติ) แบบแผนของสารสนเทศ ที่เป็นการประยุกต์สนับสนุนการตัดสินใจ ซึ่งต้องรวมรวมและนำเสนอ คือ

           - การเปรียบเทียบการขายระหว่างสัปดาห์ 
           - การคาดการณ์รายรับ ตามข้อสมมติของการขายผลิตภัณฑ์ใหม่ 
           - ผลต่อเนื่องจากทางเลือกในการตัดสินใจต่าง ๆ โดยประสบการณ์ในอดีตเป็นแนวในการ

อธิบาย Decision support system อาจจะเสนอสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ และอาจจะรวมถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (Export system) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) โดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับผู้บริหารธุรกิจ หรือกลุ่มพนักงานที่มีระดับความรู้
  
4.3  ES คือ Sporadic E หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า E-Skip (Es) คือปรากฏการที่ไม่ปกติของการแตกตัวของประจุไฟฟ้า (Ion) ในบรรยากาศชั้นย่อย E ของชั้นบรรยากาศหลัก Ionosphere และสะท้อนสัญญาณโทรทัศน์ และความถี่วิทยุ FM ซึ่งสามารถสะท้อนได้ถึงความถี่ 150 MHz เลยที่เดียว E-Skip นั้นสามารถส่งผลให้คลื่นวิทยุเดินทางได้ไกลกว่าปกติที่ควรเป็นมาก การเกิด E-Skip นั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเกิด Tropospheric Ducting ที่เรารู้จักกันแต่อย่างใด
  
4.4  DP คือ ผู้ซื้อจะรับเอกสารเพื่อไปแลกสินค้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้านั้นแล้ว  ในทางการค้าระหว่างประเทศ  เมื่อผู้ขายส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้ว  ผู้ซื้อยังไม่สามารถรับสินค้าได้ทันที  ผู้ซื้อจะต้องรอเอกสารจากผู้ขาย  เพื่อจะนำไปแลกสินค้าจากบริษัทเรือหรือบริษัทขนส่ง  เอกสารที่สำคัญคือ “ใบตราส่ง”  ที่ออกโดยบริษัทเรือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ตั๋วเรือ” (Bill of Lading)  ผู้ซื้อจะได้เอกสารนี้จากธนาคารที่ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินต่อเมื่อผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ธนาคารดังกล่าว  การตั้งเงื่อนไขแบบ D/P นี้ทำให้ผู้ขายไม่ต้องเสี่ยงต่อการที่มอบสินค้าให้ผู้ซื้อแล้วผู้ซื้อไม่ยอมชำระเงิน  เงื่อนไข D/P นี้ใช้ได้กับตั๋วที่เป็น Sight Bill และ Time Bill

 4.5  EIS คือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ ใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
                                                                                                            
5.  จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้
  5.1 MIS กับ DP
ตอบ  MIS ผู้ใช้งาน คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  DP คือ ผู้ซื้อจะรับเอกสารเพื่อไปแลกสินค้าได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระเงินค่าสินค้านั้นแล้ว

5.2 DSS กับ MIS
 ตอบ  ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS
1.ระบบเอ็มไอเอส จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบดีเอสเอสถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างหรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน 2.ระบบเอ็มไอเอสจะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน เช่น ระบบบัญชี การควบคุมสินค้าคงคลังหรือแม้แต่ระบบโดยรวมขององค์กรทั้งหมด ในขณะที่ระบบดีเอสเอสเป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้
3.ระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู่ใช้ ในขณะที่ระบบดีเอสเอสจะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที
4.ระบบเอ็มไอเอสจะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบดีเอาเอาจะให้สารสนรเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

 5.3 EIS กับ DSS
ตอบ EIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น